ประวัติรายการ VRZO
"สวัสดีครับมาผมกลับรายการ vrzo รายการที่คัดคนดูดี 100 คนที่ดูดี ใครดูไม่ดีเราไม่ดู"
กำเนิดรายการVRZO
สุรบถ หลีกภัย ได้รวมตัวกับกลุ่มเพื่อนอีก 4-5 คน เปิดตัวครั้งแรกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 ในช่วงแรกรายการมีพิธีกร คือ ชัญญ่า ทามาดะ หม่อมราชวงศ์แม้นนฤมาส ยุคล และสุรบถ แนวคิดเกิดมาจากสุรบถที่ใช้งานเฟซบุ๊กที่ได้คำถามจากวัยรุ่นในแฟนเพจ ที่ได้ตั้งกระทู้ปัญหาของตนในเว็บบอร์ด แต่สุรบถคิดว่าข้อแนะนำในเว็บบอร์ดก็แนะนำไปในทางที่ผิด จึงเกิดแนวคิดรายการที่จะแนะนำวัยรุ่นขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ได้ต้องการให้รายการไปในทางที่เคร่งเครียด เหมือนอย่างรายการข่าวหรือแบบสำรวจตามมหาวิทยาลัย แต่ทำรายการให้สนุกสนาน โดยมีบทสัมภาษณ์จากคนที่ดูดีและบุคคลมีชื่อเสียง โดยมีตอนแรกคือรูปลับ มาจากคำถามมาจาก ปัญหาเรื่องรูปหลุด ที่เด็กวัยรุ่นชอบถ่ายรูปกับแฟนแล้วรูปหลุดลงอินเทอร์เน็ตโดยรายการที่ดูสบาย ๆ มีความเห็นที่สนุกสนาน แต่เดิมมีให้ดูเฉพาะในยูทูบ ต่อมาทางช่องเวรี่ ทีวี ได้ติดต่อมาฉายทางทรูวิชั่น 85 โดยปัจจุบันมีพิธีกรคือ สุรบถ และ มัลลิกา จงวัฒนา
ในการทำงานสุรบถรับหน้าที่อำนวยการผลิต ปรีดิ์โรจน์ เกษมสันต์ รับหน้าที่เป็นผู้กำกับศิลป์ และ อิสระ ฮาตะ รับหน้าที่เป็นผู้ตัดต่อ โดยทั้งปรีดิ์โรจน์และอิสระก็มีส่วนออกหน้ากล้องเช่นกัน มี ทชณิตร เธียรทณัท เป็นช่างกล้อง มีสุรบถและมัลลิกา เป็นผู้สัมภาษณ์ผู้คน ทีมงานล้วนแต่ไม่มีใครศึกษาจบในสาขานิเทศน์ศาสตร์ โดยมีทีมงานหาหนุ่มสาวที่ดูดี 100 คน มาสัมภาษณ์ ในช่วงแรกมีความยากลำบากในการหาคนมาสัมภาษณ์ เพราะยังเป็นรายการที่ไม่มีคนรู้จัก โดยมีสถานที่ถ่ายทำเช่น สยามสแควร์ สยามพารากอน ทองหล่อ เทอร์มินัล 21 หรือในบางตอนที่เป็นตอนพิเศษถ่ายทำที่พัทยา และเชียงใหม่
หัวข้อในการสัมภาษณ์นั้น เลือกประเด็นที่เป็นที่พูดถึงในสังคม 100 คน ในบางหัวข้อสัมภาษณ์แต่ผู้ชายหรือผู้หญิงล้วน ในบางหัวข้อสัมภาษณ์ทั้งชายและหญิงคละกันไป อย่างเช่นหัวข้อ ที่ถามผู้ชายเกี่ยวกับเรื่องการสวมใส่เครื่องแบบนักศึกษาที่แน่นคับของนักศึกษาหญิง หรือในตอนที่ 15 สัมภาษณ์กะเทยและเกย์ ที่พัทยา
ช่วงอื่นของรายการเช่น สาระมีอยู่จริง และอิสระ ฮาตะ รวมถึงมีช่วงที่มีบุคคลมีชื่อเสียงมาแสดงความเห็นประเด็นนั้น เรียก เซเลบริเชียล ผู้มาร่วมแสดงความเห็น เช่น ประกาศิต โบสุวรรณ, โก๊ะตี๋ อารามบอย, ปาณิสรา พิมพ์ปรุ เป็นต้น
นอกเหนือไปจากการสัมภาษณ์บุคคลที่ดูดี 100 คนแล้ว เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของรายการคือการขอให้ผู้ถูกสัมภาษณ์พูดอะไรก็ได้เกี่ยวกับประเด็นที่ถูกถามภายใน 3 พยางค์ จนทำให้วลี “ขอสามคำ” เป็นที่นิยมมาก โดยเฉพาะในกลุ่มสังคมออนไลน์ วิธีการนี้ถูกใช้ครั้งแรกในตอนที่ 4 ของรายการ ในหัวข้อการสวมใส่เครื่องแบบนักศึกษาที่แน่นคับของนักศึกษาหญิง ซึ่งผู้ถูกสัมภาษณ์ที่ถูกขอความเห็น 3 พยางค์เป็นคนแรกในรายการคือ วิญญู วงศ์สุรวัฒน์ หรือ จอห์น วิญญู พิธีกรที่โด่งดังจากรายการออนไลน์
หัวข้อในการสัมภาษณ์นั้น เลือกประเด็นที่เป็นที่พูดถึงในสังคม 100 คน ในบางหัวข้อสัมภาษณ์แต่ผู้ชายหรือผู้หญิงล้วน ในบางหัวข้อสัมภาษณ์ทั้งชายและหญิงคละกันไป อย่างเช่นหัวข้อ ที่ถามผู้ชายเกี่ยวกับเรื่องการสวมใส่เครื่องแบบนักศึกษาที่แน่นคับของนักศึกษาหญิง หรือในตอนที่ 15 สัมภาษณ์กะเทยและเกย์ ที่พัทยา
ช่วงอื่นของรายการเช่น สาระมีอยู่จริง และอิสระ ฮาตะ รวมถึงมีช่วงที่มีบุคคลมีชื่อเสียงมาแสดงความเห็นประเด็นนั้น เรียก เซเลบริเชียล ผู้มาร่วมแสดงความเห็น เช่น ประกาศิต โบสุวรรณ, โก๊ะตี๋ อารามบอย, ปาณิสรา พิมพ์ปรุ เป็นต้น
นอกเหนือไปจากการสัมภาษณ์บุคคลที่ดูดี 100 คนแล้ว เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของรายการคือการขอให้ผู้ถูกสัมภาษณ์พูดอะไรก็ได้เกี่ยวกับประเด็นที่ถูกถามภายใน 3 พยางค์ จนทำให้วลี “ขอสามคำ” เป็นที่นิยมมาก โดยเฉพาะในกลุ่มสังคมออนไลน์ วิธีการนี้ถูกใช้ครั้งแรกในตอนที่ 4 ของรายการ ในหัวข้อการสวมใส่เครื่องแบบนักศึกษาที่แน่นคับของนักศึกษาหญิง ซึ่งผู้ถูกสัมภาษณ์ที่ถูกขอความเห็น 3 พยางค์เป็นคนแรกในรายการคือ วิญญู วงศ์สุรวัฒน์ หรือ จอห์น วิญญู พิธีกรที่โด่งดังจากรายการออนไลน์
และสำหรับบทความหน้าเราจะมาดูว่า vrzo สมาชิกมีใครบ้าง
และสำหรับใครที่ชื่นชอบรายการ vrzo สามารถติดตามชมได้ที่ VrzoChannel - YouTube ถ้ายังไม่พอใจไปที่ www.VRZO.tv ครับ
หรือกด Like fackbook ได้ครับ ที่www.facebook.com/VRZOCLUB ครับ
ที่มาของข้อมูล : http://th.wikipedia.org/wiki/วีอาร์โซ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น