"สวัสดีครับกลับมาพบกลับบทความใหม่ของผม วันนี้เรามานำเสนอเรื่องมวยไทยศิลปะที่ใช้ในการต่อสู้และป้องกันตัวของไทยมาแต่โบราณ(ผมเป็นคนที่ชอบมวยไทยมากๆเลยครับ)"
มวยไทย
มวยไทยเป็นกีฬาเก่าแก่ของไทย เป็นที่นิยมของประชาชนทุกชั้นทุกสมัย ในชั้นต้นมวยไทย ไม่ได้มีกติกาเป็น ลายลักษณ์อักษร แต่นายสนาม ย่อมชี้แจงให้นักมวยคู่แข่งขัน ทราบถึงหลักเกณฑ์ในการแข่งขันนั้น ๆ หลักเกณฑ์ ต่าง ๆ เหล่านี้ เมื่อได้ใช้กันมากขึ้น ก็กลายเป็นประเพณี และใช้เป็นหลักเกณฑ์ สำหรับการแข่งขัน ในเวลาต่อมา ฯ
ความเป็นมาของมวยไทย
มวยไทย เป็น ศิลปะการต่อสู้จากประเทศไทย ที่ใช้หมัด ศอก แขนท่อนล่าง เท้า แข้ง เข่า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ศีรษะ และลำตัวในการต่อสู้ ศิลปะการต่อสู้ลักษณะนี้ สามารถพบเห็นได้หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกตัวอย่างเช่นประเทศกัมพูชาเรียกว่า ประดั่ญเซเรีย (Pradal Serey) หรือขอมมวยส่วนประเทศลาวเรียก มวยลายลาว (มวยเสือลากหาง)
มวยไทยเริ่มขึ้นในสมัยไม่ปรากฏ และไม่มีหนังสือเล่มใดเขียนไว้ว่า จะเกิดขึ้นในสมัยใด แต่เท่าที่ได้ปรากฏนั้น มวยไทย ได้เกิดขึ้นมานานแล้ว และอาจเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับชาติไทย เพราะมวยไทยนั้นเป็นศิลปประจำชาติไทย เรา จริง ๆ ยากที่ ชาติอื่นจะลอกเลียนแบบได้
มวยไทยในสมัยก่อนเท่าที่ทราบ จะมีการฝึกฝนอยู่ในบรรดาหมู่ทหาร เพราะในสมัยก่อน ไทยเราได้มีการรบพุ่ง และ สู้รบกันกับ ประเทศเพื่อนบ้านบ่อยครั้ง การสู้รบในสมัยนั้นยังไม่มีปืน จะสู้กันแต่ดาบสองมือ และมือเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ การรบพุ่ง ก็มีการรบ ประชิดตัว คนไทยเห็นว่าในสมัยนั้น การรบด้วยดาบ เป็นการรบพุ่งที่ประชิดตัว มากเกินไป บางครั้ง คู่ต่อสู้อาจเข้ามา ฟันเราได้ง่าย คนไทยจึงได้ฝึกหัด การถีบและเตะคู่ต่อสู้เอาไว้ เพื่อคู่ต่อสู้ จะได้เสียหลัก แล้วเราจะได้ เลือกฟันง่ายขึ้น ทำให้คู่ต่อสู้แพ้ได้
ต่อมาเมื่อในหมู่ทหารได้มีการฝึกถีบเตะแล้ว ก็เกิดมีผู้คิดว่าทำอย่างไรจึงจะใช้การถีบเตะนั้น มาเป็นศิลปสำหรับ การต่อสู้ ด้วยมือได้ จึงต้องให้มีผู้ที่จะคิดจะฝึกหัดการต่อสู้ป้องกันตัว สำหรับการใช้แสดงเวลามีงานเทศกาลต่าง ๆ ไว้อวดชาวบ้าน และเป็นของแปลก สำหรับชาวบ้าน เมื่อเป็นเช่นนี้ นานเข้า ชาวบ้านหรือคนไทย ได้เห็นการถีบเตะ แพร่หลาย และบ่อยครั้ง เข้า จึงทำให้ชาวบ้านมีการ ฝึกหัดมวยไทยกันมาก จนถึงกับตั้งเป็นสำนักฝึกกันมากมาย แต่สำหรับที่ฝึกมวยไทยนั้น ก็ต้อง เป็นสำนักดาบที่มีชื่อดีมาก่อน และ มีอาจารย์ดีไว้ฝึกสอน
ดังนั้นมวยไทยในสมัยนั้น จึงฝึกเพื่อความหมาย ๒ อย่างคือ
๑.เพื่อไว้สำหรับสู้รบกับข้าศึก
๒. เพื่อไว้ต่อสู้ป้องกันตัว
ในสมัยนั้น ใครมีเพลงดาบดี และเก่งกาจทางรบพุ่งนั้น จะต้องเก่งทางมวยไทยด้วยเพราะเวลารบพุ่งนั้น ต้องอาศัย มวยไทย เข้าช่วย ดังนั้นวิชามวยไทยในสมัยนั้นจึงมุ่งหมายที่จะฝึกฝนเพลงดาบและวิชามวยไทยไปพร้อม ๆ กัน เพื่อที่จะรับใช้ประเทศชาติด้วยการ เป็นทหาร ได้เป็นอย่างดี
แต่เมื่อพ้นจากหน้าสงคราม ก็จะมีการชกมวยกัน เพื่อความสนุกสนาน และมีการพนันขันต่อกัน ระหว่างนักมวยที่เก่ง จากหมู่บ้านหนึ่ง กับนักมวยที่เก่งจากอีกหมู่บ้านหนึ่ง มาชกกันในหน้าที่มีงานเทศกาล หรือเกิดมีการท้าทายกันขึ้น และมีการ พนันขันต่อ มวยในสมัยนั้น ชกกันด้วยหมัดเปล่า ๆ ยังไม่มีการคาดเชือก เช่น สมัยอยุธยาตอนต้น ในสมัยนั้น คนไทย ที่ทำชื่อเสียง ให้กับประเทศในวิชามวยไทย มากที่สุด คือ นายขนมต้ม ซึ่งได้ใช้วิชามวยไทย ต่อสู้พม่า ถึง ๑๐ คน และพม่าก็ได้ แพ้นายขนมต้มหมดทุกคน จนถึงกับกษัตริย์พม่า พูดว่า
ความหมายของคำว่า"มวย"
๑.อาจมีที่มาจาก คำว่า รำหมัดรำมวย ซึ่งเป็นชื่อเรียก การฝึกสมาธิเคลื่อนไหวเพื่อสร้างสุขภาพ ของ ชนเผ่าไท โดยมีลักษณะเด่นที่ การเคลื่อนไหวซึ่งมี การหมุนม้วนข้อมือและหมัด(พันหมัดพันมือ) และ การเคลื่อนที่ ที่มีจังหวะและการหมุนวนไปมา ซึ่งเป็นคำปรากฏ เรียกกันมาแต่โบราณ ตั้งแต่ก่อนตั้งอาณาจักรสุโขทัย และต่อมาในยุคต้นกรุงศรีอยุธยา(ราวปี พ.ศ. 1900) ปรากฏคำว่า ปล้ำมวย (การประลอง หรือซ้อมมวยเพื่อทดสอบฝีมือ เช่นเดียวกับ การปล้ำไก่) ตีมวย (การแข่งขันชกมวยเพื่อการพนันเอาแพ้ชนะ เช่นเดียวกับ คำว่า ตีไก่) หรืออาจมาจากลักษณะการประกอบการม้วนเชือกหรือผ้า เพื่อใช้หุ้มฝ่ามือและท่อนแขน เพื่อใช้ป้องกันอันตรายขณะต่อสู้ หรืออาจเพิ่มอันตรายในการ ชก กระแทกฟาดโดยการผสม กับ กาวแป้ง และ ผงทราย คล้ายลักษณะของ มวยผม ของ ผู้หญิงที่นิยมไว้ผมยาว (เกล้ามวย) ได้แก่ หญิงไทย/ลาวโซ่ง/หญิงล้านนาในสมัยโบราณ หรือนักมวยจีน (มุ่นผม) ซึ่งนิยมถักเป็นเปีย แล้วม้วนพันรอบคอของตนซึ่งสามารถใช้ในการต่อสู้ในบางครั้ง
๒.หรือ มาจากคำภาษาบาลี ว่า "มัลละ" หมายถึง การปล้ำรัด มวยปล้ำของชาวอินเดียมีการต่อสู้ในลักษณะเดียวกับ มวย ของ ชาวไทย มุสลิมในท้องถิ่นทาง ภาคใต้ ตลอดจนแหลม มลายู เรียกว่า ซีละ หรือ ปัญจสีลัต มีผู้บัญญัติศัพท์ว่า "มวยไทยพาหุยุทธ์" โดยเปรียบว่า เป็นการต่อสู้แบบรวมเอา ศิลปะการต่อสู้ (Martial Art) ทุกแขนง โดยใช้อวัยวะทุกส่วนร่วมด้วยได้แก่ การใช้ ศีรษะ คาง เพื่อชน กระแทก โขก ยี ใช้ท่อนแขน ฝ่ามือ และกำปั้น จับ ล็อก บล็อก บัง เหวี่ยง ฟัด ฟาด ปิด ปัด ป้อง ฟาด ผลัก ยัน ดัน ทุบ ชก ไล่แขน ศอก เฉือน ถอง กระทุ้ง พุ่ง เสย งัด ทั้งทำลายจังหวะเมื่อเสียเปรียบและหาโอกาสเข้ากระทำเมื่อได้เปรียบ
ส่วนขา แข้ง เข่า ฝ่าเท้า ส้นเท้า ปลายเท้า ใช้ในการบัง ถีบ เตะ แตะ เกี่ยว ตวัด ฉัด ช้อน ปัด กวาด ฟาด กระแทก ทำให้บอบช้ำและเสียหลักและใช้ลำตัวในการการทุ่มทับจับหัก (มีคณะนักมวยในอดีตคือ ค่าย ส.ยกฟัด ที่นิยมใช้กันมาก) การประกอบรวมแม่แบบชุดต่อสู้รวมเรียกว่า แม่ไม้ และลูกไม้ ตามเชิงมวย หรือกลมวย
การศึกษาศิลปะมวยไทย
มีผู้กล่าวกันว่ามีตำนานเกี่ยวเนื่องกับพระนางจามเทวี ผู้สร้างเมืองลำพูน ว่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 1200 มีพระฤๅษีนาม สุกกะทันตะฤๅษี ซึ่งเป็นสหายธรรม กับ ท่านสุเทวะฤๅษี เป็นพระอาจารย์ผู้สั่งสอน ธรรมวิทยา แล ศิลปศาสตร์ทั้งปวงอันควรแก่การศึกษาสำหรับขุนท้าวเจ้าพระยาทั้งหลาย โดยตั้งเป็นสำนักเรียนขึ้นที่ เขาสมอคอน แขวงเมืองลพบุรี(ลวะปุระ หรือ ละโว้ ) ในสรรพวิทยาทั้งหลายนั้น ประกอบด้วยวิชชาอันควรแก่ ชายชาตรี ที่เรียกว่า มัยศาสตร์ (มายาศาสตร์ มาจาก มัย+ศาสตระ แปลว่า วิชาที่ฝึกเพื่อให้สำเร็จ หรือบ้างเรียกว่า วิชาชาตรี "ชาตรี" แปลว่า เหนือกว่าที่เกิด ) อันได้แก่ วิชามวย วิชาดาบ วิชาธนู วิชาบังคับช้าง ม้า ซึ่งเป็นการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญในการต่อสู้ป้องกันตัวและศึกสงคราม ในสมัยโบราณจะมี สำนักเรียน (สำนักเรียนมวย แตกต่างจาก ค่ายมวย คือ สำนักเรียนจะมีเจ้าสำนัก หรือ ครูมวย ซึ่งมีฝีมือและชื่อเสียงเป็นที่เคารพรู้จัก มีความประสงค์ที่จะถ่ายทอดวิชาไม่ให้สูญหาย โดยมุ่งเน้นถ่ายทอดให้เฉพาะศิษย์ที่มีความเหมาะสม ส่วน ค่ายมวย เป็นที่รวมของผู้ที่ชื่นชอบในการชกมวย มีจุดประสงค์ที่จะแลกเปลี่ยนวิชาความรู้เพื่อนำไปใช้ในการแข่งขัน-ประลอง) โดยแยกเป็น สำนักหลวง และ สำนักราษฎร์ บ้างก็ฝึกเรียนร่วมกับเพลงดาบ กระบี่ กระบอง พลอง ทวน ง้าวและมีดหรือการต่อสู้อื่นๆ เพื่อใช้ในการต่อสู้ป้องกันตัวและใช้ในการสงคราม มีทั้งพระมหากษัตริย์และขุนนางแม่ทัพนายกองและชาวบ้านทั่วไป (ส่วนใหญ่เป็นชาย) และจะมีการแข่งขันต่อสู้-ประลองกันในงานวัด และงานเทศกาลโดยมีค่ายมวยและสำนักมวยต่างๆ ส่งนักมวยและครูมวยเข้าแข่งขันชิงรางวัล-เดิมพัน โดยยึดความเสมอภาค
บางครั้งจึงมีตำนานพระมหากษัตริย์หรือขุนนางที่เชี่ยวชาญการต่อสู้ปลอมตนเข้าร่วมแข่งขันเพื่อทดสอบฝีมือที่เป็นที่ปรากฏได้แก่ พระเจ้าเสือ (ขุนหลวงสรศักดิ์) พระเจ้าตากสินมหาราช พระยาพิชัยดาบหักครูดอก แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ จนเมื่อไทยเสียกรุงแก่พม่า ปรากฏชื่อนายขนมต้ม ครูมวยชาวอยุธยา ซึ่งถูกกวาดต้อนเป็นเชลยศึกได้ชกมวยกับชาวพม่า ชนะหลายครั้งเป็นที่ปรากฏถึงความเก่งกาจเหี้ยมหาญของวิชามวยไทย ในสมัยอยุธยา ตอนปลายได้มีการจัดตั้งกรมทนายเลือกและกรมตำรวจหลวงขึ้นมีหน้าที่ในการให้การคุ้มครองกษัตริย์และราชวงศ์ ได้มีการฝึกหัดวิชาการต่อสู้ทั้งมวยไทยและมวยปล้ำตามแบบอย่างแขกเปอร์เซีย (อิหร่าน) จึงมีครูมวยไทยและนักมวยที่มีฝีมือเข้ารับราชการจำนวนมากและได้แสดงฝีมือในการต่อสู้ในราชสำนักและหน้าพระที่นั่งในงานเทศกาลต่างๆสืบต่อกันมาเป็นประจำ และเป็นที่น่าสังเกตว่า กองทัพกู้ชาติของพระเจ้าตาก ล้วนประกอบด้วยนักมวยและครูมวยที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นจำนวนมาก ถึงกับได้มีการจัดตั้งเป็นหน่วยรบพิเศษ 3 กอง คือ กองทนายเลือก กองพระอาจารย์ และกองแก้วจินดา ซึ่งได้ปฏิบัติภารกิจที่สำคัญที่ทำให้คนไทยสิ้นความหวาดกลัวต่อทัพพม่า ในการรบที่บ้านนางแก้ว ราชบุรี จนอาจเรียกได้ว่า มวยไทยกู้ชาติ
กีฬามวยไทยได้รับความนิยมมากในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ยุคที่นับว่าเฟื่องฟูที่สุดคือ รัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ศึกษาฝึกฝนการชกมวยไทยและโปรดให้จัดการแข่งขันชกมวยหน้าพระที่นั่งโดยคัดเลือกนักมวยฝีมือดีจากภาคต่างๆ มาประลองแข่งขัน และพระราชทานแต่งตั้งให้มีบรรดาศักดิ์ ทั้งยังโปรดให้กรมศึกษาธิการ บรรจุการสอนมวยไทยเป็นวิชาบังคับ ในโรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษา มีการชกมวยถวายหน้าพระที่นั่งเป็นประจำจนถึงสมัย รัชกาลที่ 6 ที่วังสวนกุหลาบ ทั้งการต่อสู้ประลองระหว่างนักมวย กับครูมวยชาวไทยด้วยกัน และการต่อสู้ระหว่างนักมวย กับครูมวยต่างชาติ ในการแข่งขันชกมวยในสมัยรัชกาลที่ 6 ระหว่างมวยเลี่ยะผะ (กังฟู) ชาวจีนโพ้นทะเล ชื่อนายจี่ฉ่าง กับ นายยัง หาญทะเล ศิษย์เอกของ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มีท่าจรดมวยแบบมวยโคราช ซึ่งเน้นการยืดตัวตั้งตระหง่านพร้อมที่จะรุกและรับโดยเน้นการใช้เท้าและหมัดเหวี่ยง และต่อมาได้เป็นแบบอย่างในการฝึกหัดมวยไทยในสถาบันพลศึกษาส่วนใหญ่ สมัย รัชกาลที่ 7 ในยุคแรกการแข่งขันมวยไทยใช้การพันมือด้วยเชือก จนกระทั่งนายแพ เลี้ยงประเสริฐ นักมวยจากท่าเสา จ.อุตรดิตถ์ ต่อยนายเจียร์ นักมวยเขมร ด้วยหมัดเหวี่ยงควายถึงแก่ความตาย จึงเปลี่ยนมาสวมนวมแทน ต่อมาเริ่มมีการกำหนดกติกาในการชก และมีเวทีมาตรฐานขึ้นแห่งแรกคือเวทีมวยลุมพินีและเวทีมวยราชดำเนินจัดแข่งขันมวยไทยมาจนปัจจุบัน
ต่อมา พ.ศ. 2554 กระทรวงวัฒนธรรม ได้มีมติให้กำหนดเอา วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ตั้งแต่ปี 2555 เป็น " วันมวยไทย " โดยถือเอา วันขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าเสือ แต่มีผู้ศึกษาประวัติศาสตร์มวยไทย ให้ความเห็นว่ามวยไทย มีกำเนิดมาก่อนยุคสมัยพระเจ้าเสือนานมาก และหากจะยกให้คนที่มีฝีมือใน วิชามวยไทยและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ทั้งในแง่เกียรติประวัติและความสามารถ ควรยกย่อง พระยาพิชัยดาบหัก (นายทองดี ฟันขาว) มากที่สุด เพราะมีประวัติความเป็นมาชัดเจนในการศึกษาวิชามวยไทย สำหรับนายขนมต้ม ซึ่งเป็นครูมวยกรุงเก่าและถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยก่อนเสียกรุงครั้งที่ 2 ก็ถือว่าได้ใช้วิชามวยไทยแสดงให้ชาวต่างชาติเห็นได้น่ายกย่อง แต่ประวัติความเป็นมาของท่านไม่ชัดเจน แต่หากเห็นว่า ควรยกย่องพระมหากษัตริย์มากกว่าสามัญชน ก็น่าจะพิจารณา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งพระองค์ท่านมีชีวประวัติชัดเจนในความสามารถในวิชามวยและการต่อสู้หลายแขนง ทั้งมีพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทย ด้วยการรวบรวม ครูมวย นักมวย ที่มีฝีมือจำนวนมากเป็นหลักในกองกำลังกอบกู้อิสรภาพ
"คนไทยถึงแม้ว่าจะไม่มีดาบ แม้แต่มือเปล่า ก็ยังมีพิษสงรอบตัว"
นายขนมต้มจึงเปรียบเสมือนผู้เป็นบิดาของวิชามวยไทย เพราะทำให้คนไทยมีชื่อเสียง เกี่ยวกับ วิชามวยไทย เป็นอันมากในสมัยนั้น และชื่อเสียงก็ได้เลื่องลือมาจนถึงกับปัจจุบันนี้
ในสมัยต่อมา มวยไทยก็ยังฝึกฝนคู่กับการฝึกเพลงดาบอยู่ และยังฝึกและใช้เพื่อการทำสงคราม และฝึกฝนเพื่อการ ต่อสู้ ป้องกันตัว บางทีก็ฝึกเพื่อชกในงานเทศกาลต่าง ๆ ในสมัยอยุธยาตอนปลาย พระมหากษัตริย์ของไทยบาง พระองค์ มีฝีมือ ในทางมวยไทย อยู่มาก เช่น พระเจ้าเสือ หรือขุนหลวงสรศักดิ์ ซึ่งได้หนีออกจากพระราชวัง ไปชกมวยกับชาวบ้าน และ ชกชนะด้วย ต่อมาประชาชน ทราบและเห็นว่า พระองค์ก็เป็นผู้มีฝีมือในวิชามวยไทย อยู่ในขั้นดีเยี่ยม ในสมัยต่อมา ผู้ที่มี ฝีมือในทางมวยไทยก็มีมาก เช่น พระเจ้าตากสิน
วิชามวยไทยได้ยั่งยืนมาจนถึงสมัยปัจจุบัน และในสมัยอยุธยาตอนปลายนี้ มวยไทยได้ชกกันด้วยการคาดเชือก คือใช้เชือก เป็นผ้าพันมือ บางครั้งการชกก็อาจถึงตาย เพราะเชือก ที่คาดมือนั้น บางครั้งก็ใช้น้ำมันชุบเศษแก้ว ละเอียด ชกถูกตรงไหน ก็เป็นแผลตรงนั้น จะเห็นได้ว่ามวยไทยในสมัยนั้น มีอันตราย เป็นอันมาก
ต่อมาในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา มวยไทยก็มีการฝึกตามสำนักฝึกต่าง ๆ และมีการฝึกกันอย่างกว้างขวาง จนถึง สมัยรัตนโกสินทร์ ก็มีเวทีมวยที่จัดให้มีการแข่งขันกันอย่างสนุกสนาน เช่น เวทีสวนเจ้าเชษฐ และเวทีสวนกุหลาบ ซึ่งการ ชกมวยในสมัยนี้ ก็ยังมีการคาดเชือกกันอยู่ จนตอนหลัง นวมได้เข้ามาแพร่หลายในประเทศไทย การชกกัน ในสมัยหลัง ๆ จึงได้สวมนวมชก แต่การชกกันก็ยังเหมือนเดิม คือ ยังใช้การ ถีบ ชก ศอก และเข่า ดังที่เห็นอยู่ ในปัจจุบันนี้ ฯ
สนามมวย
ที่เรียกกันว่าสนาม ครั้งก่อน ๆ นั้น เป็นสนามจริง ๆ คือนายสนามเอาเชือกมากั้นพอเป็นบริเวณเข้า แล้วมวยก็คาด เชือก ชกกันบนพื้นดิน ใช้จอก หรือ กะลา เจาะรู ลอยน้ำ เป็นมาตรากำหนดเวลา จมครั้งหนึ่ง เรียกว่า ยกหนึ่ง การต่อสู้ ตามความรู้สึกในขณะนั้น เรียกว่าตื่นเต้น แต่ถ้าหากให้ชกกันเดี๋ยวนี้ ก็คงจะถูกผู้ดูให้ลง กรรมการไล่ลง หรือออกจาก เวที แน่ เพราะกว่าจะชกกันแต่ละครั้งนั้น นานจนเมื่อยตา แต่ก็น่าเห็นใจ เนื่องจากหมัดที่ใช้ชก คาดด้วย เชือกแทน สวมนวม อย่างไรก็ดี กีฬามวยเริ่มเข้าสู่ระเบียบอย่างจริงจัง ก็เมื่สร้างเวทีขึ้นกลางสนามฟุตบอล สวนกุหลาบ พื้นใช้ ไม้กระดาน เสื่อ เป็นแบบ เสื่อกระจูดทับข้างบน มีการนับโดยจับเวลา เป็นนาที มีกรรมการขึ้น คอยห้าม ครั้งแรกเคยใช้กรรมการสองคน คนหนึ่งคอยกันจับฝ่ายแดง อีกคนหนึ่งคอยกันจับฝ่ายน้ำเงิน ในสมัยก่อน มีกรรมการ ๒ คน คนหนึ่งคือ พระยานนท์เสน อีกคนหนึ่งคือ พระยานเรนทร์ราชา ที่เป็นกรรมการตัดสิน ที่นิยม ยกย่องแพร่หลาย ในระหว่าง นักมวย และคณะหัวหน้านักมวย ทั่วไป
สำหรับการชกนั้น ชกกันสลับคู่ อาทิ คู่ ๑ ชกครบ ๑ ยก แล้วก็ลงจากเวที แล้วให้คุ่ที่ ๒ ขึ้นไปชกกัน เพื่อมิให้คนดู เสียเวลา ถ้ายัง ไม่แพ้ชนะกัน ก็สลับไปถึงคู่ ๓ - ๔ - ๕ จนกว่าจะสิ้นแสงตะวัน หลักเกณฑ์ และกติกาเบื้องต้น อนุญาตให้ซ้ำกันได้ ในเวลาล้ม นักมวยตอนนั้น จึงต้องเรียนรู้วิธีต่อสู้รอบตัวทีเดียว เพราะฟาวล์ไม่มี แม้กระทั่ง กัดใบหู ก็เคยปรากฏ อีกอย่าง หนึ่ง สมัยนั้น นักเรียนพลศึกษามีมาก อยากจะขึ้นชกเป็นการแสดงฝีมือ และสอบ ไล่มวยไทย ไปในตัวเสร็จ แต่กลัวพวก นักมวยต่างจังหวัด จึงตกลงวางหลักกติกาให้กรรมการใช้ ยูยิตสู ช่วยด้วย จึงเป็นของ ธรรมดาที่เราจะเห็นนักมวยต่างจังหวัด ซึ่งไม่รู้ว่า ยูยิตสู คืออะไร ถูกทุ่ม ถูกล็อค จนออกปากส่งเสียง ร้องเอ็ดตะโร ยอมแพ้ให้ไป นอกจากบางราย ที่ถูกเตะ เสียจนตั้งตัวไม่ติด และแพ้ไปก่อน
การไหว้ครู
การแข่งขันในเชิงศิลปะ มวยไทย กระบี่กระบอง หรือ อาวุธอื่น ๆ ที่มีมาแต่ โบราณนั้น ก่อนการแข่งขัน ทุกคนจะต้องไหว้ครู ถ้าเป็นนักมวยไทย ก่อนการแข่งขันชกมวยไทย จะต้องไหว้ครู มวยไทย และร่ายรำ มวยไทย ซึ่งเป็นประเพณี ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน การไหว้ครู เป็นการทำความเคารพต่อประธานในพิธีแข่งขัน หรือเป็นการถวายบังคม แด่พระมหากษัตริย์ ซึ่งในสมัย โบราณ ทรงโปรดฯ ให้มีการชก มวยไทย หน้าพระที่นั่งอยู่ เป็นประจำ ทั้งเป็นการระลึกถึง และแสดงความกตัญญู ต่อครูบาอาจารย์ ที่ประสิทธิประสาทวิชาความรู้ ให้เพื่อความเป็นศิริมงคลทำให้จิตใจมั่นคงไม่หวั่นไหวครั่นคร้ามควบคุมสติได้ดี ส่วนการ ร่ายรำ มวยไทย เป็นการแสดงออกถึง ลักษณะเฉพาะของครู มวยไทย หรือค่ายมวยไทย ซึ่งถ้านักมวยไทยไหว้ครูและร่ายรำ มวยไทย แบบเดียวกันมักจะไม่นิยมต่อยกัน เพราะเข้าใจ ว่าเป็นลูกศิษย์ที่มีครูมวย คนเดียวกัน นอกจากนั้น การร่ายรำ มวยไทย ยังเป็นการสังเกตุ ดูเชิงคู่ปรปักษ์ และเพื่ออบอุ่นร่างกาย ให้คลายความเคร่งเครียด ทั้งกายและจิตใจ ให้พร้อมที่จะเข้าต่อสู้ได |
ประโยชน์ของมวยไทย
ผู้ที่ฝึกวิชามวยพอใช้การได้แล้ว ย่อมทำให้เกิดประโยชน์แก่ตน ดังนี้ (คนละส่วนกับการฝึกชกมวยเพื่อเงิน)
๑. มีความมั่นใจในตนเอง
๒. ทำให้เกิดความกล้าหาญ
๓. มีอำนาจบังคับจิตใจดีขึ้น
๔. มีความสุขุมเยือกเย็น ไม่ดีใจเสียใจง่าย
๕. มีความพินิจพิเคราะห์ รู้จักหาเหตุผล
๖. มีความมานะอดทน เพื่อสร้างสมรรถภาพ
๗. มีเชาว์ไว ไหวพริบ ทันเหตุการณ์ปัจจุบันทันด่วน
๘. มีความเข้มแข็งอดทน ไม่ท้อแท้ และจำนนต่อเหตุการณ์ง่าย ๆ
๙. มีความรักสุจริตยุติธรรม โดยประมวลจากหัวข้อข้างต้น
เหล่านี้ย่อมเป็นที่สังเกตุว่า วิชามวยเป็นสิ่งที่สร้างสมรรถภาพให้ร่างกาย และจิตใจโดยสมบูรณ์ ผู้มุ่งศึกษาวิชามวย พึงพยายาม จนบรรลุผลที่มุ่งหมาย
และถ้าพูดถึงมวยไทยแล้วถ้าจะไม่พูดถึงนักมวยไทยที่เก่งๆก็คงจะไม่ได้งั้นบทตวามหน้ามาเจอกันตรับ
มวยไทยนี้มันน่ากลัวจริงๆเลย.....นะครับ