วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

มวยไทย ศิลปะการต่อสู้แบบไทย ที่ทั่วโลกยอมรับ

"สวัสดีครับกลับมาพบกลับบทความใหม่ของผม วันนี้เรามานำเสนอเรื่องมวยไทยศิลปะที่ใช้ในการต่อสู้และป้องกันตัวของไทยมาแต่โบราณ(ผมเป็นคนที่ชอบมวยไทยมากๆเลยครับ)" 

มวยไทย

มวยไทยเป็นกีฬาเก่าแก่ของไทย เป็นที่นิยมของประชาชนทุกชั้นทุกสมัย ในชั้นต้นมวยไทย ไม่ได้มีกติกาเป็น ลายลักษณ์อักษร แต่นายสนาม ย่อมชี้แจงให้นักมวยคู่แข่งขัน ทราบถึงหลักเกณฑ์ในการแข่งขันนั้น ๆ หลักเกณฑ์ ต่าง ๆ เหล่านี้ เมื่อได้ใช้กันมากขึ้น ก็กลายเป็นประเพณี และใช้เป็นหลักเกณฑ์ สำหรับการแข่งขัน ในเวลาต่อมา ฯ

ความเป็นมาของมวยไทย

มวยไทย เป็น ศิลปะการต่อสู้จากประเทศไทย ที่ใช้หมัด ศอก แขนท่อนล่าง เท้า แข้ง เข่า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ศีรษะ และลำตัวในการต่อสู้ ศิลปะการต่อสู้ลักษณะนี้ สามารถพบเห็นได้หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกตัวอย่างเช่นประเทศกัมพูชาเรียกว่า ประดั่ญเซเรีย (Pradal Serey) หรือขอมมวยส่วนประเทศลาวเรียก มวยลายลาว (มวยเสือลากหาง)

มวยไทยเริ่มขึ้นในสมัยไม่ปรากฏ และไม่มีหนังสือเล่มใดเขียนไว้ว่า จะเกิดขึ้นในสมัยใด แต่เท่าที่ได้ปรากฏนั้น มวยไทย ได้เกิดขึ้นมานานแล้ว และอาจเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับชาติไทย เพราะมวยไทยนั้นเป็นศิลปประจำชาติไทย เรา จริง ๆ ยากที่ ชาติอื่นจะลอกเลียนแบบได้

มวยไทยในสมัยก่อนเท่าที่ทราบ จะมีการฝึกฝนอยู่ในบรรดาหมู่ทหาร เพราะในสมัยก่อน ไทยเราได้มีการรบพุ่ง และ สู้รบกันกับ ประเทศเพื่อนบ้านบ่อยครั้ง การสู้รบในสมัยนั้นยังไม่มีปืน จะสู้กันแต่ดาบสองมือ และมือเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ การรบพุ่ง ก็มีการรบ ประชิดตัว คนไทยเห็นว่าในสมัยนั้น การรบด้วยดาบ เป็นการรบพุ่งที่ประชิดตัว มากเกินไป บางครั้ง คู่ต่อสู้อาจเข้ามา ฟันเราได้ง่าย คนไทยจึงได้ฝึกหัด การถีบและเตะคู่ต่อสู้เอาไว้ เพื่อคู่ต่อสู้ จะได้เสียหลัก แล้วเราจะได้ เลือกฟันง่ายขึ้น ทำให้คู่ต่อสู้แพ้ได้

ต่อมาเมื่อในหมู่ทหารได้มีการฝึกถีบเตะแล้ว ก็เกิดมีผู้คิดว่าทำอย่างไรจึงจะใช้การถีบเตะนั้น มาเป็นศิลปสำหรับ การต่อสู้ ด้วยมือได้ จึงต้องให้มีผู้ที่จะคิดจะฝึกหัดการต่อสู้ป้องกันตัว สำหรับการใช้แสดงเวลามีงานเทศกาลต่าง ๆ ไว้อวดชาวบ้าน และเป็นของแปลก สำหรับชาวบ้าน เมื่อเป็นเช่นนี้ นานเข้า ชาวบ้านหรือคนไทย ได้เห็นการถีบเตะ แพร่หลาย และบ่อยครั้ง เข้า จึงทำให้ชาวบ้านมีการ ฝึกหัดมวยไทยกันมาก จนถึงกับตั้งเป็นสำนักฝึกกันมากมาย แต่สำหรับที่ฝึกมวยไทยนั้น ก็ต้อง เป็นสำนักดาบที่มีชื่อดีมาก่อน และ มีอาจารย์ดีไว้ฝึกสอน 

ดังนั้นมวยไทยในสมัยนั้น จึงฝึกเพื่อความหมาย ๒ อย่างคือ
๑.เพื่อไว้สำหรับสู้รบกับข้าศึก
๒. เพื่อไว้ต่อสู้ป้องกันตัว

ในสมัยนั้น ใครมีเพลงดาบดี และเก่งกาจทางรบพุ่งนั้น จะต้องเก่งทางมวยไทยด้วยเพราะเวลารบพุ่งนั้น ต้องอาศัย มวยไทย เข้าช่วย ดังนั้นวิชามวยไทยในสมัยนั้นจึงมุ่งหมายที่จะฝึกฝนเพลงดาบและวิชามวยไทยไปพร้อม ๆ กัน เพื่อที่จะรับใช้ประเทศชาติด้วยการ เป็นทหาร ได้เป็นอย่างดี

แต่เมื่อพ้นจากหน้าสงคราม ก็จะมีการชกมวยกัน เพื่อความสนุกสนาน และมีการพนันขันต่อกัน ระหว่างนักมวยที่เก่ง จากหมู่บ้านหนึ่ง กับนักมวยที่เก่งจากอีกหมู่บ้านหนึ่ง มาชกกันในหน้าที่มีงานเทศกาล หรือเกิดมีการท้าทายกันขึ้น และมีการ พนันขันต่อ มวยในสมัยนั้น ชกกันด้วยหมัดเปล่า ๆ ยังไม่มีการคาดเชือก เช่น สมัยอยุธยาตอนต้น ในสมัยนั้น คนไทย ที่ทำชื่อเสียง ให้กับประเทศในวิชามวยไทย มากที่สุด คือ นายขนมต้ม ซึ่งได้ใช้วิชามวยไทย ต่อสู้พม่า ถึง ๑๐ คน และพม่าก็ได้ แพ้นายขนมต้มหมดทุกคน จนถึงกับกษัตริย์พม่า พูดว่า

ความหมายของคำว่า"มวย" 

๑.อาจมีที่มาจาก คำว่า รำหมัดรำมวย ซึ่งเป็นชื่อเรียก การฝึกสมาธิเคลื่อนไหวเพื่อสร้างสุขภาพ ของ ชนเผ่าไท โดยมีลักษณะเด่นที่ การเคลื่อนไหวซึ่งมี การหมุนม้วนข้อมือและหมัด(พันหมัดพันมือ) และ การเคลื่อนที่ ที่มีจังหวะและการหมุนวนไปมา ซึ่งเป็นคำปรากฏ เรียกกันมาแต่โบราณ ตั้งแต่ก่อนตั้งอาณาจักรสุโขทัย และต่อมาในยุคต้นกรุงศรีอยุธยา(ราวปี พ.ศ. 1900) ปรากฏคำว่า ปล้ำมวย (การประลอง หรือซ้อมมวยเพื่อทดสอบฝีมือ เช่นเดียวกับ การปล้ำไก่) ตีมวย (การแข่งขันชกมวยเพื่อการพนันเอาแพ้ชนะ เช่นเดียวกับ คำว่า ตีไก่) หรืออาจมาจากลักษณะการประกอบการม้วนเชือกหรือผ้า เพื่อใช้หุ้มฝ่ามือและท่อนแขน เพื่อใช้ป้องกันอันตรายขณะต่อสู้ หรืออาจเพิ่มอันตรายในการ ชก กระแทกฟาดโดยการผสม กับ กาวแป้ง และ ผงทราย คล้ายลักษณะของ มวยผม ของ ผู้หญิงที่นิยมไว้ผมยาว (เกล้ามวย) ได้แก่ หญิงไทย/ลาวโซ่ง/หญิงล้านนาในสมัยโบราณ หรือนักมวยจีน (มุ่นผม) ซึ่งนิยมถักเป็นเปีย แล้วม้วนพันรอบคอของตนซึ่งสามารถใช้ในการต่อสู้ในบางครั้ง

๒.หรือ มาจากคำภาษาบาลี ว่า "มัลละ" หมายถึง การปล้ำรัด มวยปล้ำของชาวอินเดียมีการต่อสู้ในลักษณะเดียวกับ มวย ของ ชาวไทย มุสลิมในท้องถิ่นทาง ภาคใต้ ตลอดจนแหลม มลายู เรียกว่า ซีละ หรือ ปัญจสีลัต มีผู้บัญญัติศัพท์ว่า "มวยไทยพาหุยุทธ์" โดยเปรียบว่า เป็นการต่อสู้แบบรวมเอา ศิลปะการต่อสู้ (Martial Art) ทุกแขนง โดยใช้อวัยวะทุกส่วนร่วมด้วยได้แก่ การใช้ ศีรษะ คาง เพื่อชน กระแทก โขก ยี ใช้ท่อนแขน ฝ่ามือ และกำปั้น จับ ล็อก บล็อก บัง เหวี่ยง ฟัด ฟาด ปิด ปัด ป้อง ฟาด ผลัก ยัน ดัน ทุบ ชก ไล่แขน ศอก เฉือน ถอง กระทุ้ง พุ่ง เสย งัด ทั้งทำลายจังหวะเมื่อเสียเปรียบและหาโอกาสเข้ากระทำเมื่อได้เปรียบ

ส่วนขา แข้ง เข่า ฝ่าเท้า ส้นเท้า ปลายเท้า ใช้ในการบัง ถีบ เตะ แตะ เกี่ยว ตวัด ฉัด ช้อน ปัด กวาด ฟาด กระแทก ทำให้บอบช้ำและเสียหลักและใช้ลำตัวในการการทุ่มทับจับหัก (มีคณะนักมวยในอดีตคือ ค่าย ส.ยกฟัด ที่นิยมใช้กันมาก) การประกอบรวมแม่แบบชุดต่อสู้รวมเรียกว่า แม่ไม้ และลูกไม้ ตามเชิงมวย หรือกลมวย

การศึกษาศิลปะมวยไทย 

มวยไทย
มีผู้กล่าวกันว่ามีตำนานเกี่ยวเนื่องกับพระนางจามเทวี ผู้สร้างเมืองลำพูน ว่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 1200 มีพระฤๅษีนาม สุกกะทันตะฤๅษี ซึ่งเป็นสหายธรรม กับ ท่านสุเทวะฤๅษี เป็นพระอาจารย์ผู้สั่งสอน ธรรมวิทยา แล ศิลปศาสตร์ทั้งปวงอันควรแก่การศึกษาสำหรับขุนท้าวเจ้าพระยาทั้งหลาย โดยตั้งเป็นสำนักเรียนขึ้นที่ เขาสมอคอน แขวงเมืองลพบุรี(ลวะปุระ หรือ ละโว้ ) ในสรรพวิทยาทั้งหลายนั้น ประกอบด้วยวิชชาอันควรแก่ ชายชาตรี ที่เรียกว่า มัยศาสตร์ (มายาศาสตร์ มาจาก มัย+ศาสตระ แปลว่า วิชาที่ฝึกเพื่อให้สำเร็จ หรือบ้างเรียกว่า วิชาชาตรี "ชาตรี" แปลว่า เหนือกว่าที่เกิด ) อันได้แก่ วิชามวย วิชาดาบ วิชาธนู วิชาบังคับช้าง ม้า ซึ่งเป็นการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญในการต่อสู้ป้องกันตัวและศึกสงคราม ในสมัยโบราณจะมี สำนักเรียน (สำนักเรียนมวย แตกต่างจาก ค่ายมวย คือ สำนักเรียนจะมีเจ้าสำนัก หรือ ครูมวย ซึ่งมีฝีมือและชื่อเสียงเป็นที่เคารพรู้จัก มีความประสงค์ที่จะถ่ายทอดวิชาไม่ให้สูญหาย โดยมุ่งเน้นถ่ายทอดให้เฉพาะศิษย์ที่มีความเหมาะสม ส่วน ค่ายมวย เป็นที่รวมของผู้ที่ชื่นชอบในการชกมวย มีจุดประสงค์ที่จะแลกเปลี่ยนวิชาความรู้เพื่อนำไปใช้ในการแข่งขัน-ประลอง) โดยแยกเป็น สำนักหลวง และ สำนักราษฎร์ บ้างก็ฝึกเรียนร่วมกับเพลงดาบ กระบี่ กระบอง พลอง ทวน ง้าวและมีดหรือการต่อสู้อื่นๆ เพื่อใช้ในการต่อสู้ป้องกันตัวและใช้ในการสงคราม มีทั้งพระมหากษัตริย์และขุนนางแม่ทัพนายกองและชาวบ้านทั่วไป (ส่วนใหญ่เป็นชาย) และจะมีการแข่งขันต่อสู้-ประลองกันในงานวัด และงานเทศกาลโดยมีค่ายมวยและสำนักมวยต่างๆ ส่งนักมวยและครูมวยเข้าแข่งขันชิงรางวัล-เดิมพัน โดยยึดความเสมอภาค
บางครั้งจึงมีตำนานพระมหากษัตริย์หรือขุนนางที่เชี่ยวชาญการต่อสู้ปลอมตนเข้าร่วมแข่งขันเพื่อทดสอบฝีมือที่เป็นที่ปรากฏได้แก่ พระเจ้าเสือ (ขุนหลวงสรศักดิ์) พระเจ้าตากสินมหาราช พระยาพิชัยดาบหักครูดอก แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ จนเมื่อไทยเสียกรุงแก่พม่า ปรากฏชื่อนายขนมต้ม ครูมวยชาวอยุธยา ซึ่งถูกกวาดต้อนเป็นเชลยศึกได้ชกมวยกับชาวพม่า ชนะหลายครั้งเป็นที่ปรากฏถึงความเก่งกาจเหี้ยมหาญของวิชามวยไทย ในสมัยอยุธยา ตอนปลายได้มีการจัดตั้งกรมทนายเลือกและกรมตำรวจหลวงขึ้นมีหน้าที่ในการให้การคุ้มครองกษัตริย์และราชวงศ์ ได้มีการฝึกหัดวิชาการต่อสู้ทั้งมวยไทยและมวยปล้ำตามแบบอย่างแขกเปอร์เซีย (อิหร่าน) จึงมีครูมวยไทยและนักมวยที่มีฝีมือเข้ารับราชการจำนวนมากและได้แสดงฝีมือในการต่อสู้ในราชสำนักและหน้าพระที่นั่งในงานเทศกาลต่างๆสืบต่อกันมาเป็นประจำ และเป็นที่น่าสังเกตว่า กองทัพกู้ชาติของพระเจ้าตาก ล้วนประกอบด้วยนักมวยและครูมวยที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นจำนวนมาก ถึงกับได้มีการจัดตั้งเป็นหน่วยรบพิเศษ 3 กอง คือ กองทนายเลือก กองพระอาจารย์ และกองแก้วจินดา ซึ่งได้ปฏิบัติภารกิจที่สำคัญที่ทำให้คนไทยสิ้นความหวาดกลัวต่อทัพพม่า ในการรบที่บ้านนางแก้ว ราชบุรี จนอาจเรียกได้ว่า มวยไทยกู้ชาติ
กีฬามวยไทยได้รับความนิยมมากในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ยุคที่นับว่าเฟื่องฟูที่สุดคือ รัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ศึกษาฝึกฝนการชกมวยไทยและโปรดให้จัดการแข่งขันชกมวยหน้าพระที่นั่งโดยคัดเลือกนักมวยฝีมือดีจากภาคต่างๆ มาประลองแข่งขัน และพระราชทานแต่งตั้งให้มีบรรดาศักดิ์ ทั้งยังโปรดให้กรมศึกษาธิการ บรรจุการสอนมวยไทยเป็นวิชาบังคับ ในโรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษา มีการชกมวยถวายหน้าพระที่นั่งเป็นประจำจนถึงสมัย รัชกาลที่ 6 ที่วังสวนกุหลาบ ทั้งการต่อสู้ประลองระหว่างนักมวย กับครูมวยชาวไทยด้วยกัน และการต่อสู้ระหว่างนักมวย กับครูมวยต่างชาติ ในการแข่งขันชกมวยในสมัยรัชกาลที่ 6 ระหว่างมวยเลี่ยะผะ (กังฟู) ชาวจีนโพ้นทะเล ชื่อนายจี่ฉ่าง กับ นายยัง หาญทะเล ศิษย์เอกของ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มีท่าจรดมวยแบบมวยโคราช ซึ่งเน้นการยืดตัวตั้งตระหง่านพร้อมที่จะรุกและรับโดยเน้นการใช้เท้าและหมัดเหวี่ยง และต่อมาได้เป็นแบบอย่างในการฝึกหัดมวยไทยในสถาบันพลศึกษาส่วนใหญ่ สมัย รัชกาลที่ 7 ในยุคแรกการแข่งขันมวยไทยใช้การพันมือด้วยเชือก จนกระทั่งนายแพ เลี้ยงประเสริฐ นักมวยจากท่าเสา จ.อุตรดิตถ์ ต่อยนายเจียร์ นักมวยเขมร ด้วยหมัดเหวี่ยงควายถึงแก่ความตาย จึงเปลี่ยนมาสวมนวมแทน ต่อมาเริ่มมีการกำหนดกติกาในการชก และมีเวทีมาตรฐานขึ้นแห่งแรกคือเวทีมวยลุมพินีและเวทีมวยราชดำเนินจัดแข่งขันมวยไทยมาจนปัจจุบัน
ต่อมา พ.ศ. 2554 กระทรวงวัฒนธรรม ได้มีมติให้กำหนดเอา วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ตั้งแต่ปี 2555 เป็น " วันมวยไทย " โดยถือเอา วันขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าเสือ แต่มีผู้ศึกษาประวัติศาสตร์มวยไทย ให้ความเห็นว่ามวยไทย มีกำเนิดมาก่อนยุคสมัยพระเจ้าเสือนานมาก และหากจะยกให้คนที่มีฝีมือใน วิชามวยไทยและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ทั้งในแง่เกียรติประวัติและความสามารถ ควรยกย่อง พระยาพิชัยดาบหัก (นายทองดี ฟันขาว) มากที่สุด เพราะมีประวัติความเป็นมาชัดเจนในการศึกษาวิชามวยไทย สำหรับนายขนมต้ม ซึ่งเป็นครูมวยกรุงเก่าและถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยก่อนเสียกรุงครั้งที่ 2 ก็ถือว่าได้ใช้วิชามวยไทยแสดงให้ชาวต่างชาติเห็นได้น่ายกย่อง แต่ประวัติความเป็นมาของท่านไม่ชัดเจน แต่หากเห็นว่า ควรยกย่องพระมหากษัตริย์มากกว่าสามัญชน ก็น่าจะพิจารณา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งพระองค์ท่านมีชีวประวัติชัดเจนในความสามารถในวิชามวยและการต่อสู้หลายแขนง ทั้งมีพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทย ด้วยการรวบรวม ครูมวย นักมวย ที่มีฝีมือจำนวนมากเป็นหลักในกองกำลังกอบกู้อิสรภาพ
"คนไทยถึงแม้ว่าจะไม่มีดาบ แม้แต่มือเปล่า ก็ยังมีพิษสงรอบตัว"
นายขนมต้มจึงเปรียบเสมือนผู้เป็นบิดาของวิชามวยไทย เพราะทำให้คนไทยมีชื่อเสียง เกี่ยวกับ วิชามวยไทย เป็นอันมากในสมัยนั้น และชื่อเสียงก็ได้เลื่องลือมาจนถึงกับปัจจุบันนี้

ในสมัยต่อมา มวยไทยก็ยังฝึกฝนคู่กับการฝึกเพลงดาบอยู่ และยังฝึกและใช้เพื่อการทำสงคราม และฝึกฝนเพื่อการ ต่อสู้ ป้องกันตัว บางทีก็ฝึกเพื่อชกในงานเทศกาลต่าง ๆ ในสมัยอยุธยาตอนปลาย พระมหากษัตริย์ของไทยบาง พระองค์ มีฝีมือ ในทางมวยไทย อยู่มาก เช่น พระเจ้าเสือ หรือขุนหลวงสรศักดิ์ ซึ่งได้หนีออกจากพระราชวัง ไปชกมวยกับชาวบ้าน และ ชกชนะด้วย ต่อมาประชาชน ทราบและเห็นว่า พระองค์ก็เป็นผู้มีฝีมือในวิชามวยไทย อยู่ในขั้นดีเยี่ยม ในสมัยต่อมา ผู้ที่มี ฝีมือในทางมวยไทยก็มีมาก เช่น พระเจ้าตากสิน

วิชามวยไทยได้ยั่งยืนมาจนถึงสมัยปัจจุบัน และในสมัยอยุธยาตอนปลายนี้ มวยไทยได้ชกกันด้วยการคาดเชือก คือใช้เชือก เป็นผ้าพันมือ บางครั้งการชกก็อาจถึงตาย เพราะเชือก ที่คาดมือนั้น บางครั้งก็ใช้น้ำมันชุบเศษแก้ว ละเอียด ชกถูกตรงไหน ก็เป็นแผลตรงนั้น จะเห็นได้ว่ามวยไทยในสมัยนั้น มีอันตราย เป็นอันมาก

ต่อมาในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา มวยไทยก็มีการฝึกตามสำนักฝึกต่าง ๆ และมีการฝึกกันอย่างกว้างขวาง จนถึง สมัยรัตนโกสินทร์ ก็มีเวทีมวยที่จัดให้มีการแข่งขันกันอย่างสนุกสนาน เช่น เวทีสวนเจ้าเชษฐ และเวทีสวนกุหลาบ ซึ่งการ ชกมวยในสมัยนี้ ก็ยังมีการคาดเชือกกันอยู่ จนตอนหลัง นวมได้เข้ามาแพร่หลายในประเทศไทย การชกกัน ในสมัยหลัง ๆ จึงได้สวมนวมชก แต่การชกกันก็ยังเหมือนเดิม คือ ยังใช้การ ถีบ ชก ศอก และเข่า ดังที่เห็นอยู่ ในปัจจุบันนี้ ฯ

สนามมวย

ที่เรียกกันว่าสนาม ครั้งก่อน ๆ นั้น เป็นสนามจริง ๆ คือนายสนามเอาเชือกมากั้นพอเป็นบริเวณเข้า แล้วมวยก็คาด เชือก ชกกันบนพื้นดิน ใช้จอก หรือ กะลา เจาะรู ลอยน้ำ เป็นมาตรากำหนดเวลา จมครั้งหนึ่ง เรียกว่า ยกหนึ่ง การต่อสู้ ตามความรู้สึกในขณะนั้น เรียกว่าตื่นเต้น แต่ถ้าหากให้ชกกันเดี๋ยวนี้ ก็คงจะถูกผู้ดูให้ลง กรรมการไล่ลง หรือออกจาก เวที แน่ เพราะกว่าจะชกกันแต่ละครั้งนั้น นานจนเมื่อยตา แต่ก็น่าเห็นใจ เนื่องจากหมัดที่ใช้ชก คาดด้วย เชือกแทน สวมนวม อย่างไรก็ดี กีฬามวยเริ่มเข้าสู่ระเบียบอย่างจริงจัง ก็เมื่สร้างเวทีขึ้นกลางสนามฟุตบอล สวนกุหลาบ พื้นใช้ ไม้กระดาน เสื่อ เป็นแบบ เสื่อกระจูดทับข้างบน มีการนับโดยจับเวลา เป็นนาที มีกรรมการขึ้น คอยห้าม ครั้งแรกเคยใช้กรรมการสองคน คนหนึ่งคอยกันจับฝ่ายแดง อีกคนหนึ่งคอยกันจับฝ่ายน้ำเงิน ในสมัยก่อน มีกรรมการ ๒ คน คนหนึ่งคือ พระยานนท์เสน อีกคนหนึ่งคือ พระยานเรนทร์ราชา ที่เป็นกรรมการตัดสิน ที่นิยม ยกย่องแพร่หลาย ในระหว่าง นักมวย และคณะหัวหน้านักมวย ทั่วไป

สำหรับการชกนั้น ชกกันสลับคู่ อาทิ คู่ ๑ ชกครบ ๑ ยก แล้วก็ลงจากเวที แล้วให้คุ่ที่ ๒ ขึ้นไปชกกัน เพื่อมิให้คนดู เสียเวลา ถ้ายัง ไม่แพ้ชนะกัน ก็สลับไปถึงคู่ ๓ - ๔ - ๕ จนกว่าจะสิ้นแสงตะวัน หลักเกณฑ์ และกติกาเบื้องต้น อนุญาตให้ซ้ำกันได้ ในเวลาล้ม นักมวยตอนนั้น จึงต้องเรียนรู้วิธีต่อสู้รอบตัวทีเดียว เพราะฟาวล์ไม่มี แม้กระทั่ง กัดใบหู ก็เคยปรากฏ อีกอย่าง หนึ่ง สมัยนั้น นักเรียนพลศึกษามีมาก อยากจะขึ้นชกเป็นการแสดงฝีมือ และสอบ ไล่มวยไทย ไปในตัวเสร็จ แต่กลัวพวก นักมวยต่างจังหวัด จึงตกลงวางหลักกติกาให้กรรมการใช้ ยูยิตสู ช่วยด้วย จึงเป็นของ ธรรมดาที่เราจะเห็นนักมวยต่างจังหวัด ซึ่งไม่รู้ว่า ยูยิตสู คืออะไร ถูกทุ่ม ถูกล็อค จนออกปากส่งเสียง ร้องเอ็ดตะโร ยอมแพ้ให้ไป นอกจากบางราย ที่ถูกเตะ เสียจนตั้งตัวไม่ติด และแพ้ไปก่อน

การไหว้ครู

การแข่งขันในเชิงศิลปะ มวยไทย กระบี่กระบอง หรือ อาวุธอื่น ๆ ที่มีมาแต่ โบราณนั้น ก่อนการแข่งขัน ทุกคนจะต้องไหว้ครู ถ้าเป็นนักมวยไทย ก่อนการแข่งขันชกมวยไทย จะต้องไหว้ครู มวยไทย และร่ายรำ มวยไทย ซึ่งเป็นประเพณี ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน การไหว้ครู เป็นการทำความเคารพต่อประธานในพิธีแข่งขัน หรือเป็นการถวายบังคม แด่พระมหากษัตริย์ ซึ่งในสมัย โบราณ ทรงโปรดฯ ให้มีการชก มวยไทย หน้าพระที่นั่งอยู่ เป็นประจำ ทั้งเป็นการระลึกถึง และแสดงความกตัญญู ต่อครูบาอาจารย์ ที่ประสิทธิประสาทวิชาความรู้ ให้เพื่อความเป็นศิริมงคลทำให้จิตใจมั่นคงไม่หวั่นไหวครั่นคร้ามควบคุมสติได้ดี ส่วนการ ร่ายรำ มวยไทย เป็นการแสดงออกถึง ลักษณะเฉพาะของครู มวยไทย หรือค่ายมวยไทย ซึ่งถ้านักมวยไทยไหว้ครูและร่ายรำ มวยไทย แบบเดียวกันมักจะไม่นิยมต่อยกัน เพราะเข้าใจ ว่าเป็นลูกศิษย์ที่มีครูมวย คนเดียวกัน นอกจากนั้น การร่ายรำ มวยไทย ยังเป็นการสังเกตุ ดูเชิงคู่ปรปักษ์ และเพื่ออบอุ่นร่างกาย ให้คลายความเคร่งเครียด ทั้งกายและจิตใจ ให้พร้อมที่จะเข้าต่อสู้ได


ประโยชน์ของมวยไทย

ผู้ที่ฝึกวิชามวยพอใช้การได้แล้ว ย่อมทำให้เกิดประโยชน์แก่ตน ดังนี้ (คนละส่วนกับการฝึกชกมวยเพื่อเงิน)

๑. มีความมั่นใจในตนเอง
๒. ทำให้เกิดความกล้าหาญ
๓. มีอำนาจบังคับจิตใจดีขึ้น
๔. มีความสุขุมเยือกเย็น ไม่ดีใจเสียใจง่าย
๕. มีความพินิจพิเคราะห์ รู้จักหาเหตุผล
๖. มีความมานะอดทน เพื่อสร้างสมรรถภาพ
๗. มีเชาว์ไว ไหวพริบ ทันเหตุการณ์ปัจจุบันทันด่วน
๘. มีความเข้มแข็งอดทน ไม่ท้อแท้ และจำนนต่อเหตุการณ์ง่าย ๆ
๙. มีความรักสุจริตยุติธรรม โดยประมวลจากหัวข้อข้างต้น

เหล่านี้ย่อมเป็นที่สังเกตุว่า วิชามวยเป็นสิ่งที่สร้างสมรรถภาพให้ร่างกาย และจิตใจโดยสมบูรณ์ ผู้มุ่งศึกษาวิชามวย พึงพยายาม จนบรรลุผลที่มุ่งหมาย
และถ้าพูดถึงมวยไทยแล้วถ้าจะไม่พูดถึงนักมวยไทยที่เก่งๆก็คงจะไม่ได้งั้นบทตวามหน้ามาเจอกันตรับ
                                         มวยไทยนี้มันน่ากลัวจริงๆเลย.....นะครับ

ภาพสมาชิก vrzo ขออภัยที่หามาได้ไม่ครบครับ.........ไปดูกันเบย!!!!








สมาชิกคนสำคัญครับบ




























































ขออภัยครับที่ไม่สามารถบอกเว็บที่มามันเยอะครับขอโทษด้วยครับ

FUR RO DAH อ็ากกกกกกก......!!!!!!!! ในแบบ vrzo

วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กินลูกอม....เปรี๊ยวจี๊ดดด


                                                     ฉากกินลูกอม ฮาๆ
                                                     ที่มา youtube

กำเนิด vrzo 2


                                                      กำเนิด vrzo 2
                                                      ที่มา youtube

กำเนิด vrzo1


                                                              กำเนิด vrzo 1
                                                              ที่มา youtube

VRZO รายการที่ผมชอบ...มว๊ากกกก!!! และผมก็เชื่อใครอีกหลายไคนก็คงชอบเหมือนกัน





ประวัติรายการ VRZO

"สวัสดีครับมาผมกลับรายการ vrzo รายการที่คัดคนดูดี 100 คนที่ดูดี ใครดูไม่ดีเราไม่ดู"
กำเนิดรายการVRZO
สุรบถ หลีกภัย ได้รวมตัวกับกลุ่มเพื่อนอีก 4-5 คน เปิดตัวครั้งแรกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 ในช่วงแรกรายการมีพิธีกร คือ ชัญญ่า ทามาดะ หม่อมราชวงศ์แม้นนฤมาส ยุคล และสุรบถ แนวคิดเกิดมาจากสุรบถที่ใช้งานเฟซบุ๊กที่ได้คำถามจากวัยรุ่นในแฟนเพจ ที่ได้ตั้งกระทู้ปัญหาของตนในเว็บบอร์ด แต่สุรบถคิดว่าข้อแนะนำในเว็บบอร์ดก็แนะนำไปในทางที่ผิด จึงเกิดแนวคิดรายการที่จะแนะนำวัยรุ่นขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ได้ต้องการให้รายการไปในทางที่เคร่งเครียด เหมือนอย่างรายการข่าวหรือแบบสำรวจตามมหาวิทยาลัย แต่ทำรายการให้สนุกสนาน โดยมีบทสัมภาษณ์จากคนที่ดูดีและบุคคลมีชื่อเสียง โดยมีตอนแรกคือรูปลับ มาจากคำถามมาจาก ปัญหาเรื่องรูปหลุด ที่เด็กวัยรุ่นชอบถ่ายรูปกับแฟนแล้วรูปหลุดลงอินเทอร์เน็ตโดยรายการที่ดูสบาย ๆ มีความเห็นที่สนุกสนาน แต่เดิมมีให้ดูเฉพาะในยูทูบ ต่อมาทางช่องเวรี่ ทีวี ได้ติดต่อมาฉายทางทรูวิชั่น 85 โดยปัจจุบันมีพิธีกรคือ สุรบถ และ มัลลิกา จงวัฒนา

ในการทำงานสุรบถรับหน้าที่อำนวยการผลิต ปรีดิ์โรจน์ เกษมสันต์ รับหน้าที่เป็นผู้กำกับศิลป์ และ อิสระ ฮาตะ รับหน้าที่เป็นผู้ตัดต่อ โดยทั้งปรีดิ์โรจน์และอิสระก็มีส่วนออกหน้ากล้องเช่นกัน มี ทชณิตร เธียรทณัท เป็นช่างกล้อง มีสุรบถและมัลลิกา เป็นผู้สัมภาษณ์ผู้คน ทีมงานล้วนแต่ไม่มีใครศึกษาจบในสาขานิเทศน์ศาสตร์ โดยมีทีมงานหาหนุ่มสาวที่ดูดี 100 คน มาสัมภาษณ์ ในช่วงแรกมีความยากลำบากในการหาคนมาสัมภาษณ์ เพราะยังเป็นรายการที่ไม่มีคนรู้จัก โดยมีสถานที่ถ่ายทำเช่น สยามสแควร์ สยามพารากอน ทองหล่อ เทอร์มินัล 21 หรือในบางตอนที่เป็นตอนพิเศษถ่ายทำที่พัทยา และเชียงใหม่
หัวข้อในการสัมภาษณ์นั้น เลือกประเด็นที่เป็นที่พูดถึงในสังคม 100 คน ในบางหัวข้อสัมภาษณ์แต่ผู้ชายหรือผู้หญิงล้วน ในบางหัวข้อสัมภาษณ์ทั้งชายและหญิงคละกันไป อย่างเช่นหัวข้อ ที่ถามผู้ชายเกี่ยวกับเรื่องการสวมใส่เครื่องแบบนักศึกษาที่แน่นคับของนักศึกษาหญิง หรือในตอนที่ 15 สัมภาษณ์กะเทยและเกย์ ที่พัทยา
ช่วงอื่นของรายการเช่น สาระมีอยู่จริง และอิสระ ฮาตะ รวมถึงมีช่วงที่มีบุคคลมีชื่อเสียงมาแสดงความเห็นประเด็นนั้น เรียก เซเลบริเชียล ผู้มาร่วมแสดงความเห็น เช่น ประกาศิต โบสุวรรณ, โก๊ะตี๋ อารามบอย, ปาณิสรา พิมพ์ปรุ เป็นต้น
นอกเหนือไปจากการสัมภาษณ์บุคคลที่ดูดี 100 คนแล้ว เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของรายการคือการขอให้ผู้ถูกสัมภาษณ์พูดอะไรก็ได้เกี่ยวกับประเด็นที่ถูกถามภายใน 3 พยางค์ จนทำให้วลี “ขอสามคำ” เป็นที่นิยมมาก โดยเฉพาะในกลุ่มสังคมออนไลน์ วิธีการนี้ถูกใช้ครั้งแรกในตอนที่ 4 ของรายการ ในหัวข้อการสวมใส่เครื่องแบบนักศึกษาที่แน่นคับของนักศึกษาหญิง ซึ่งผู้ถูกสัมภาษณ์ที่ถูกขอความเห็น 3 พยางค์เป็นคนแรกในรายการคือ วิญญู วงศ์สุรวัฒน์ หรือ จอห์น วิญญู พิธีกรที่โด่งดังจากรายการออนไลน์ 
และสำหรับบทความหน้าเราจะมาดูว่า vrzo สมาชิกมีใครบ้าง
และสำหรับใครที่ชื่นชอบรายการ vrzo สามารถติดตามชมได้ที่ VrzoChannel - YouTube ถ้ายังไม่พอใจไปที่ www.VRZO.tv ครับ 
หรือกด Like fackbook ได้ครับ ที่www.facebook.com/VRZOCLUB ครับ
                    
ที่มาของข้อมูล : http://th.wikipedia.org/wiki/วีอาร์โซ

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

bodyslam วงRock ในใจวัยรุ่น


ประวัติBodyslam
Bodyslam วงร็อคแถวหน้าของวงการเพลงเมืองไทย ไม่ว่า Bodyslam จะออกผลงานเพลงมากี่อัลบั้มก็ไม่มีคำว่าแป๊ก เพราะ Bodyslam ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงฝีมือ จากรางวัลชนะเลิศ ด้วยรางวัลชนะเลิศจากเวที Hot Wave Music Awards เมื่อครั้งยังเป็นเด็กกางเกงขาสั้น จนถึงทุกวันนี้ ไม่มีใครไม่รู้จัก “Bodyslam” . . .

สมาชิกในวง Bodyslam

อาทิวราห์ คงมาลัย (ตูน) - นักร้องนำ
ธนดล ช้างเสวก (ปิ๊ด) - เบส  ปิ๊ด บอดี้สแลม
ธนชัน ตันตระกูล (ยอด) - กีตาร์
สุชัฒติ จั่นอี๊ด (ชัช) - มือกลอง 
โอม เปล่งขำ มือคีย์บอร์ด เข้าร่วมเป็นสมาชิกน้องใหม่ของวงอย่างเป็น


ประวัติ...Bodyslam…

วงละอ่อน เกิดจากการรวมตัวของเด็กนักเรียน 6 คน จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ที่หลงใหลในเสียงดนตรี (ละอ่อน เป็นภาษาถิ่นของภาคเหนือ แปลว่าเด็กๆ คนที่อายุน้อยกว่า และเป็นชื่อวันรับน้องของโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ซึ่งเป็นการรับน้องระดับชั้นม.1 โดยรุ่นพี่ปี1 และม.6 ในขณะนั้น

  พ.ศ. 2539 รายการวิทยุ Hot Wave ได้จัดงานประกวดวงดนตรีระดับมัธยมศึกษาชื่อ Hot Wave Music Awards ขึ้นเป็นครั้งแรก วงละอ่อนจึงได้เข้าร่วมการแข่งขันและได้รับรางวัลชนะเลิศ จากจำนวนวงดนตรีจำนวนมากที่เข้าร่วมแข่งขัน ทำให้วงละอ่อนได้รับการเซ็นสัญญาเป็นศิลปินในสังกัด Music Bugs และออกอัลบั้มแรกในชื่อ ละอ่อน โดยเพลงที่ดังมากก็คือเพลง ได้หรือเปล่า และ นิดนึงพอ เป็นการรวมตัวกันของนักดนตรี(ส่วนหนึ่ง)ของวงละอ่อน ซึ่งเคยชนะเลิศการประกวด Hot Wave Music Award ครั้งที่ 1 และมีผลงานมาแล้วถึง 2 อัลบั้ม

  หลังจากนั้นสมาชิกในวงก็ได้แยกย้ายกันไปเรียนต่อ ตามความถนัดของแต่ละคน ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตแตกต่าง และ***งกันไปโดยไม่ตั้งใจจนกระทั่ง "ตูน" นักร้องนำของวง ได้หวนกลับมาสนใจเล่นดนตรีอีกครั้ง และเริ่มแต่งเพลงอีกครั้ง จากนั้นไม่นานก็ได้ "เภา" ก็ได้มาช่วยงานเพลง และ "ปิ๊ด" ก็กลับมาช่วยทำงานเพลงในรูปแบบใหม่ และเปลี่ยนชื่อวงเป็น Bodyslam ซึ่งแนวดนตรีได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

  บอดี้สแลม หมายถึงอะไร จากคำอธิบายของพวกเขาเอง ที่มาของชื่อนี้มาจาก "ท่าๆ หนึ่งของมวยปล้ำ” แต่ถ้าแปลความหมายตรงตัว BODY แปลว่าร่างกาย SLAM คือ การทุ่ม เมื่อพอมารวมกันเป็น BODYSLAM ก็หมายถึง การทุ่มสุดตัว คือการทำงานเพลงกันเต็มที่ แบบทุ่มสุดตัว




อัลบั้ม Bodyslam ที่ผ่านมา

  พ.ศ. 2545 พวกเขาส่วนหนึ่งได้กลับมารวมตัวกันในชื่อ Bodyslam ภายใต้การดูแลของทีมนักทำเพลงที่ชื่อว่า Mango Team ซึ่งเป็นทีมเดียวกันกับที่ดูแลผลงานเพลงของวง บิ๊กแอส โดยมาเป็นดนตรีร็อกหนักแน่น โดยเหลือสมาชิกเพียง 3 คนจาก 6 คนเท่านั้น ผลงานเพลงชุดแรกชื่อ Bodyslam ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี หลังจากที่เพลง "งมงาย" "อากาศ" "สักวันฉันจะดีพอ" และ "ย้ำ" ที่ได้รับความสำเร็จอย่างดี


                                            
                                                             อัลบั้ม Drive


  พ.ศ. 2546 ภายในระยะเวลา 1 ปีให้หลัง BODYSLAM ได้ออกอัลบั้มแรก( ตูน ปิ๊ด เภา ) ก็ได้ออกอัลบั้ม Drive (ไดร์ฟ) กับเพลง "ความซื่อสัตย์" เพลงโปรโมทแรกจากอัลบั้ม "Drive" และมีเพลงอื่น ๆที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน เช่น ปลายทาง เพลงที่ชวนกระโดดอย่าง "หวั่นไหว" ซึ่งเป็นเพลงที่ทำให้แฟนคลับ BODYSLAM รู้จักกับคำว่า "อยากเห็นคนไทยบินได้" เพลงอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน เช่น "ชีวิตที่ฉันเหลืออยู่" "Bodyslam" "จันทร์ยังเต็มดวง" และ "หลังฝน" ซึ่งเป็นอัลบั้มที่นับว่าประสบความสำเร็จอย่างมากในวงการเพลงร็อคของเมืองไทย
                                             
                                                           อัลบั้ม Believe

  พ.ศ. 2548 หลังจากออกอัลบั้ม Drive พวกเขาก็ออกจากค่าย Music Bug และเซ็นต์สัญญากับ จีนีส์ เรคอร์ด ซึ่งอยู่ในสังกัด GMM Grammy สังกัดเดียวกับศิลปินรุ่นพี่วงบิ๊กแอส (BIG ASS) มีการเปลี่ยนแปลงภายในวงเกิดขึ้นเมื่อ เภา - รัฐพล พรรณเชษฐ์ มือกีตาร์ของวงก็ได้ขอแยกตัวออกไปทำอัลบั้มเดี่ยว (ในชื่อ Present Perfect) สังกัด ค่ายสนามหลวง โดยมีสมาชิกใหม่เพิ่มเข้ามาคือ ยอด - ธนชัย ตันตระกูล มือกีตาร์ที่เคยเป็นนักดนตรีแบ็คอัพให้กับหลายศิลปิน กับ ชัช - สุชัฒติ จั่นอี๊ด มือกลองที่เคยแบ็คอัพ ให้กับ BODYSLAM มาตั้งแต่อัลบั้มแรก และหลายศิลปิน

  พวกเขาก็ออกอัลบั้ม Believe กับค่ายเพลงแห่งใหม่ โดยเปิดตัวด้วยซิงเกิ้ลแรกขอบฟ้า ได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดีและเป็นที่ยอมรับของผู้ฟังเป็นอย่างมาก และมีอีกหลายเพลงที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน เช่น "ความรักทำให้คนตาบอด" "พูดในใจ" เพลงที่ชวนกระโดด อย่าง "คนที่ถูกรัก" และเพลงได้มีแขกรับเชิญพิเศษ "แอ๊ด คาราบาว" ในเพลง "ความเชื่อ" ยังมีเพลงอืน ๆ ที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีไม่แพ้กัน อาทิ"ห้ามใจ" "รักก็เป็นอย่างนี้"

คอนเสิร์ตของ Bodyslam ที่ผ่านมา

- BODYSLAM นับว่าเป็นวงร็อคที่เล่นสดได้มันส์วงหนึ่งของเมืองไทย ได้มีคิวแสดงคอนเสิร์ตตามงานต่างจังหวัดมากมาย และมีคอนเสิร์ตใหญ่ อยู่ 3 ครั้ง คือ

- 14 พฤษภาคม 2548 คอนเสิร์ตวันคุ้มครองโลก ( Earth day ) ในชื่อ "Bodyslam Believe Concert" โดยมีแขกรับเชิญ 2 คน คือ บอย - อนุวัฒน์ สงวนศักดิ์ภักดี ( บอย PEACEMAKER ) และ เภา - รัฐพล พรรณเชษฐ์ อดีตมือกีตาร์ BODYSLAM ปัจจุบันออกอัลบั้มเดี่ยวชื่อ PAO PRESENT PERFECT

- 9 ตุลาคม 2548 คอนเสิร์ต BIG BODY จัดร่วมกับวงร็อครุ่นพี่ BIG ASS

- 22 เมษายน 2549 คอนเสิร์ต M-150 สุดชีวิตคนไทย ร่วมกับ BIG ASS POTATO เสก LOSO และ ลานนา คัมมินส์


และคอนเสิร์ตที่ยิ่งใหญ่ BODYSLAM-LIVE-IN-คราม 
โซดาช้าง พรีเซนท์ส บอดี้สแลม ไลฟ์ อิน คราม บาย แอร์เอเชีย เป็นคอนเสิร์ตลำดับที่ห้าของบอดี้สแลม จัดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ณ ราชมังคลากีฬาสถาน สนามกีฬาหัวหมาก โดยมีผู้เข้าชมประมาณ 65,000 คน โดยจะเปิดให้จอง ดีวีดี บันทึกการแสดงสดในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554  ทาง ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ และ เริ่มจัดส่ง ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554 โดยวางจัดจำหน่ายทั่วไปในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554
      



     


"บอดี้สแลม ไลฟ์ อิน คราม" จบยิ่งใหญ่ส่งท้ายปี ชวนแฟนโดดมันส์สนั่น ราชมังคลากีฬาสถาน
                                 

รางวัลที่ Bodyslam ได้รับ...

  ในปี พ.ศ. 2549 บอดี้สแลมได้เข้าชิงหนึ่งใน 5 งานเอ็มทีวี เอเชีย อวอร์ดสสาขาศิลปินยอดนิยมประเทศไทย ในปีเดียวกันนี้ ตูน BODYSLAM ก็ได้เข้ารับรางวัล ลูกกตัญญูดีเด่นเนื่องในวันแม่แห่งชาติ 2549 ร่วมกับศิลปินอื่นวงอื่นๆ เช่น แบงค์ วง CLASH

อัลบั้ม Save My Life (พ.ศ. 2550)

อัลบั้ม Save My Life

วางแผง 18 กันยายน 2550
ยาพิษ
อกหัก
ท่านผู้ชม
ยิ่งรู้ยิ่งไม่เข้าใจ
แค่หลับตา Feat. ปนัดดา เรืองวุฒิ
เสี้ยววินาที
คนมีตังค์
แสงแรก
นาฬิกาตาย Feat. โก้ Mr.Saxman
ขอบคุณน้ำตา

เพลงเปิดตัวเพลงแรก "ยาพิษ" ได้ออกสู่ผู้ฟัง ได้รับการตอบรับไม่น้อย เนื่องจากเนื้อหาและความหนักหน่วงทางดนตรีที่เพิ่มขึ้นมาก (มีดนตรีแนว Punk ให้เห็นอย่างเด่นชัด) เมื่อได้ฟังเพลงทั้งหมดของอัลบัมนี้แล้ว อาจจะรู้สึกได้ว่า ดนตรีได้มีการเปลี่ยนแนวไป ในการฟังครั้งแรก ก็จะพบว่าเพลงดีมีอยู่ อย่างเช่น ยิ่งรู้ยิ่งไม่เข้าใจ อกหัก นาฬิกาตาย นี่เป็นการเปลี่ยนแนวครั้งยิ่งใหญ่ ของ BODYSLAM อัลบั้มนี้ ตูนได้แต่งเพลงเองสองเพลงคือเพลง แค่หลับตา ซึ่งเพลงนี้ตูนได้ร้องคู่กับปนัดดา เรืองวุฒิ และเพลงขอบคุณน้ำตา และอีกเพลงที่ตูนแต่งเพลงร่วมกับขจรเดช พรมรักษาหรือ กบ Big Ass โปรดิวเซอร์ก็คือเพลง ยาพิษ และเป็นที่น่ายินดี สำหรับเพลง เสี้ยววินาที ที่เป็นเพลงประกอบโฆษณา 24thSea Games 2007 Information Center Nakhon 

Ratchasima THAILAND
                                    
                                                                อัลบั้ม คราม
01.คราม
02.ความรัก
03.Sticker
04.คิดฮอต Feat.ศิริพร อำไพพงษ์
05.ทางกลับบ้าน
06.แสง สุดท้าย
07.ปล่อย Feat.ปอด ธนชัน อุชชิน
08.เปราะบาง
09.โทน
10.เงา

11.ด้วยกัน